ต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในบ้านเรานับว่าเติบโตมาอย่างต่อเนื่องด้วยปัจจัยหลายประเด็น สังเกตจากมีโรงงานผลิตเครื่องดื่มเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่สำหรับคนที่มีธุรกิจของตนเองอยู่แล้วหรือใครสนใจเริ่มต้นเข้าสู่วงการนี้อาจกำลังสงสัยว่าปัจจุบันประเภท
ของ “เครื่องบรรจุเครื่องดื่ม” มีแบบไหนบ้าง และควรเลือกอย่างไรให้เหมาะกับขนาดธุรกิจของตนเอง มาศึกษาข้อมูลดี ๆ เพื่อต่อยอดและนำไปปรับใช้กันเลย
ประเภทของเครื่องบรรจุเครื่องดื่ม
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าจริงแล้วประเภทเครื่องบรรจุเครื่องดื่มจะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย นั่นคือ ลักษณะของเครื่องดื่มและลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นหากแยกย่อยออกมาก็สามารถระบุภาพรวมของตัวเครื่อง ได้แก่
แบ่งตามลักษณะของเครื่องดื่ม ปกติหากแบ่งกันตามลักษณะของเครื่องดื่มก็จะเป็นกลุ่มเครื่องดื่มปกติไม่ได้มีการบรรจุแก๊ส เช่น น้ำดื่ม เครื่องดื่มชูกำลัง ชาสำเร็จรูป กาแฟสำเร็จรูป เครื่องดื่มผสมวิตามิน เครื่องดื่มเกลือแร่ ก็จะใช้เครื่องบรรจุรูปแบบปกติ แต่ถ้าเป็นกลุ่มที่มีการอัดแก๊ส เช่น น้ำอัดลม โซดา เบียร์ ไวน์ คราฟต์เบียร์ คราฟต์โซดา ชาคอมบูชะ เป็นต้น จะต้องเลือกเครื่องบรรจุชนิดพิเศษ (Counter Pressure) หรือที่บางคนก็อาจเรียกว่าเครื่องบรรจุแบบแรงดันก็ได้ ซึ่งเครื่องบรรจุประเภทนี้ช่วยให้เครื่องดื่มที่ผ่านการอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)แล้ว ไม่สูญเสียความซ่าและยังคงรสชาติของผลิตภัณฑ์หลังผ่านการบรรจุไว้เหมือนเดิม
แบ่งตามลักษณะของบรรจุภัณฑ์ การเลือกประเภทของเครื่องบรรจุเครื่องดื่มจะเลือกตามประเภทของบรรจุภัณฑ์นั่นคือ เครื่องบรรจุสำหรับขวดและเครื่องบรรจุสำหรับกระป๋อง เหตุผลก็มาจากวัสดุที่ใช้ ลักษณะของตัวบรรจุภัณฑ์แตกต่างกันชัดเจน จึงไม่มีใครนิยมใช้เครื่องบรรจุเพียงเครื่องเดียวในการบรรจุผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์ 2 ประเภทในเครื่องเดียวกัน
หัวที่ใช้ในการบรรจุตัวอย่าง
เลือกเครื่องบรรจุเครื่องดื่มให้เหมาะกับขนาดธุรกิจ
อย่างที่อธิบายไปว่าปัจจุบันการทำธุรกิจเครื่องดื่มในเมืองไทยตื่นตัวเป็นอย่างมาก มีทั้งโรงงานขนาดใหญ่ กลาง เล็ก เกิดขึ้นมากมายคำถามคือแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องบรรจุเครื่องดื่มแบบไหนที่เหมาะกับขนาดธุรกิจของตนเอง?
ในกรณีเป็นโรงงานขนาดเล็กหรือกลางที่งบประมาณในการซื้อเครื่องจักรไม่ได้สูงมากนัก คงต้องมองที่รูปแบบของบรรจุภัณฑ์กับประเภทเครื่องดื่มเป็นหลัก เช่น ถ้าคุณผลิตเครื่องดื่มโดยมีทั้งบรรจุภัณฑ์แบบขวดและแบบกระป๋อง นั่นหมายถึงต้องมีการซื้อเครื่องบรรจุ 2 ตัว มีการทำไลน์ผลิต 2 ฝ่าย จำนวนเงินลงทุนก็จะสูงมาก จึงแนะนำให้เลือกแบบใดแบบหนึ่งจะดีกว่า เช่น ผลิตเฉพาะเครื่องดื่มบรรจุขวด เป็นต้น แต่ถ้าเป็นโรงงานขนาดใหญ่ เงินทุนหนาจะมีหลายไลน์การผลิตก็ไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำให้ใครทำธุรกิจประเภทนี้สามารถใช้เครื่องบรรจุเครื่องดื่ม
แบบใหม่ที่นำเข้าโดย I-Born เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้ออกมาดีกว่าเคย ประหยัดต้นทุนด้วยระบบผลิตหลายแพ็คเกจได้ในไลน์ผลิตเดียวกัน เพิ่มกำลังผลิตและปริมาณการบรรจุได้ รองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต ตัวเครื่องบรรจุนำเข้าจากเยอรมนี แข็งแรงทนทาน ระบบการทำ
งานไม่ซับซ้อน ค่าดูแลรักษาต่ำ แค่มีช่างในโรงงานก็สามารถดูแลเครื่องจักรได้ไม่ต้องจ้างช่างนอกให้ยุ่งยาก ตอบโจทย์ความคุ้มค่าขนานแท้
Comments